เมนู

4. เพื่อทรงแสดงถึงอันนตริยกรรม
5. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
6. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
7. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
8. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.

ขยายความเหตุ 8 ประการ


เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจอยู่
เกรงกลัวบาปอยู่ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่า
นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป
ด้วยหรือ ? ดังนี้ แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า บุรุษ กษัตริย์ พราหมณ์
เทพ มาร (ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป ) ดังนี้. มหาชนจะเข้าใจ ไม่
พิศวงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
บุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรม
เป็นของตน ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาวิหาร มีพระเวฬุวันเป็นต้น ขันธ์
ธาตุอายตนะทั้งหลายสร้างไว้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของตน
โดยเฉพาะตัว.

แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ปลงชีวิต
มารดา บิดา พระอรหันต์ ทำโลหิตุปบาทกรรม (ทำร้ายพระพุทธเจ้า
ให้ห้อพระโลหิต ) (และ) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ดังนี้. ก็นัยเดียวกัน
นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อ
ทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม.

แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ย่อมเมตตา
(รักใคร่สัตว์ทั้งหลาย ) ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ระลึกชาติที่
เคยอยู่ก่อนของเราได้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
จึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการระลึกชาติอยู่มาด่อน
ได้.

แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย รับทาน
ดังนี้ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์
ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานด้วยหรือ ? ดังนี้ แต่เมื่อตรัสว่า บุคคลผู้มี
ศีล มีกัลยาณธรรมรับทาน ดังนี้ มหาชนก็เข้าใจ ไม่พิศวงงงวย
ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อ
ทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน.

เพราะว่า ธรรมดาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้ง
สมมติของโลก ทรงดำรงอยู่ในถ้อยคำของชาวโลก ในภาษาของชาว
โลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถาไว้เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลกเสีย.

ฉะนั้น ท่านองค์นี้ (พระสารีบุตรเถระ) เมื่อจะไม่ให้ขัดแย้ง
กับพระธรรมเทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดำรงอยู่ในสมมติของโลก
แล้วกล่าวคำนี้อาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล 4 ประเภท
เหล่านี้
ดังนี้ เพราะเหตุเป็นผู้ฉลาดในสำนวนโลก เพราะฉะนั้น บุคคล
ในที่นี้โปรดทราบทามสมมติเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงปรมัตถ์.
บทว่า สนฺโต สํวิชฺชมานา (มีอยู่ หาได้) คือ พอมี หาพบ
ตามสำนวนของโลก. คำว่า ในโลก คือ ในสัตวโลก.

ขยายความกิเลสดุจเนิน 3 อย่าง


ในที่ลางแห่ง กิเลสพระองค์ตรัสเรียกว่า อังคณะ ( เป็นเหมือน
เนิน ) ในคำมีอาทิว่า สงฺคโณว สมาโน. ดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดา
กิเลสเพียงดังเนินนั้น กิเลสเพียงดังเนินเป็นไฉน ? คือ กิเลสเพียงดังเนิน
ได้แก่ราคะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โทสะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โมหะ
กิเลสเพียงดังเนิน ในที่บางแห่งหมายถึงมลทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
เปือกตมดังที่ตรัสไว้ว่า พยายามเพื่อจะละมลทินหรือเปือกตมนั้นนั่นแหละ.
แต่ในที่บางแห่งหมายถึงพื้นที่ชนิดนั้น ( ที่เป็นเนิน) พื้นที่นั้นพึงทราบ
ตามคำที่พูดกัน เช่น เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น. แต่ในพระสูตรนี้
ท่านพระสารีบุตรประสงค์เอากิเลสอย่างเผ็ดร้อนนานัปการว่า กิเลสเพียง
ดังเนิน.
จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ คำว่า
อังคณะนี้เป็นชื่อของอกุศลธรรมชั่วช้า มีความปรารถนาเป็นอารมณ์.
เป็นผู้เป็นไปกับด้วยกิเลสเพียงดังเนิน ชื่อว่า มีกิเลสเพียงดังเนิน